1.) ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application software for specific purpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้น ๆ หรือพัฒนาโดยบุคลากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือสร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรมฝากถอนเงินของธนาคาร โปรแกรมระบบสินค้าของห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
2.) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ การออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้
2.1 ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) เป็นโปรแกรมจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบ ง่ายต่อการจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล การเพิ่มข้อมูล และการลบข้อมูล เช่น Dbase, Paradox, Foxbase, Microsoft Access เป็นต้น
2.1 ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) เป็นโปรแกรมจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบ ง่ายต่อการจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล การเพิ่มข้อมูล และการลบข้อมูล เช่น Dbase, Paradox, Foxbase, Microsoft Access เป็นต้น
ภาพตัวอย่างหน้าต่างการใช้ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลของไมโครซอฟต์แอกเซส
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของตารางที่มีความสัมพันธ์กัน แต่ละตารางจะประกอบด้วยแถวที่เรียกว่า ระเบียน หรือเรคคอร์ด (recode) และคอลัมน์ที่เรียกว่า ฟิลด์ (field) แต่ละเรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ของข้อมูลที่ต้องการเก็บ เช่น ฐานข้อมูลโรงเรียน จะมีการจัดเก็บประวัตินักเรียน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ เลขประจำตัว ชื่อ นามสกุล วันเกิด เพศ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์
2.2 ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ และสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์รูปแบบตัวอักษรมีให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ช่วยสร้างเอกสารในรูปแบบที่ต้องการได้ง่าย เช่น สามารถแบ่งเป็นสดมภ์ได้หลายแบบในเอกสารชุดเดียวกัน สามารถนำรูปภาพ หรือกราฟมาเป็นส่วนประกอบของเอกสารได้ สามารถสร้างตาราง จัดเรียงตัวอักษร สามารถใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลในการแสดงหรือการพิมพ์งาน เช่น นำฐานข้อมูลรายชื่อผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรที่สร้างจากซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลมาพิมพ์ร่วมกับแบบฟอร์มที่พิมพ์และจัดเตรียมไว้ในซอฟต์แวร์ประมวลคำ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถช่วยสร้างดัชนี และสารบัญได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ประมวลคำทำให้ความสำคัญของการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดลดน้อยลง เช่น ไมโครซอฟต์เวิร์ด ซียูไรด์เตอร์ โลตัสเวิร์ดโปร และซอฟต์แวร์ประมวลคำของชุดซอฟต์แวร์ปลาดาว เป็นต้น
คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันคือสามารถช่วยตรวจสอบตัวสะกดในเอกสารที่พิมพ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ทั้งในรูปแบบของคำหรือไวยากรณ์ หากพิมพ์ผิดโปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ให้ผู้ใช้สังเกตได้ง่าย เช่น มีการขีดเส้นใต้สีแดงใต้คำที่พิมพ์ผิด และจะมีคำที่ถูกต้องให้เลือกว่าต้องการคำไหน ความสามารถนี้สืบเนื่องมาจากมีการผนวกซอฟต์แวร์ทางด้านภาษาเช่น พจนานุกรม เข้ากับซอฟต์แวร์ด้วย แต่หากเป็นชื่อเฉพาะผู้ใช้ก็สามารถเพิ่มชื่อเฉพาะเข้าไปได้เพื่อป้องกันไม่ให้ซอฟต์แวร์รายงานความผิดพลาด ซอฟต์แวร์ประมวลคำในปัจจุบันสามารถสรุปหรือย่อเนื้อหาในสัดส่วนที่ต้องการได้ เช่นสรุปเนื้อหาจากเอกสาร 10 หน้าให้เหลือ 2 หน้า และปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย
ภาพตัวอย่างหน้าต่างการใช้งานซอฟต์แวร์ประมวลคำของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว
|
ภาพตัวอย่างหน้าต่างการใช้งานของซอฟต์แวร์ประมวลคำไมโครซอฟต์เวิร์ด
|
ภาพตัวอย่างของการอ้างตำแหน่งจากเซลสดมภ์และแถว
ภาพตัวอย่างหน้าต่างใช้งานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานของซอฟต์แวร์ชุดปลาดาว ภาพตัวอย่างหน้าต่างซอฟต์แวร์ตารางทำงานของไมโครซอฟต์เอกเซล |
ตาราง ตัวอย่างสูตรและฟังก์ชันการคำนวณในซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
ตัวอย่างที่
|
ข้อมูลในเซล
|
ความหมาย
|
1
| =B2+B3+B4+B5 | หาผลรวมที่เรียงกันในแนวสดมภ์ |
2
| =A2+B2+C2+D2 | หาผลรวมที่เรียงกันในแนวแถว |
3
| =Sum(B2,B5) | หาผลรวมที่เรียงกันในแนวสดมภ์โดยใช้สูตร |
4
| =Sum(A2,D2) | หาผลรวมที่เรียงกันในแนวแถวโดยใช้สูตร |
5
| =A2+B3*C4-D5 | หาค่าจากสูตรที่คำนวณจากค่าในเซลต่างๆ แบบเจาะจง |
การคำนวณของซอฟต์แวร์ตารางทำงานนั้นสามารถคำนวณได้ทั้งในแนวของแถว สดมภ์ หรือแบบเฉพาะเจาะจงก็ได้ จากตารางข้างล่าง แสดงตัวอย่างฟังก์ชันการคำนวณที่ซอฟต์แวร์สนับสนุน ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการใช้งานโดยทั่วไปสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันที่มีอยู่หลายหมวดหมู่ เช่น ฟังก์ชันทางสถิติ ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ฐานข้อมูล และอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องเขียนมาโครเพิ่มเติม ตัวอย่างของฟังก์ชันที่มีการใช้เป็นจำนวนมาก เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และผลรวม
การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน จากตัวอย่างที่ 5 ในตารางที่ 5.1 จะทำการนำค่า B3 มาคูณกับ C4 แล้วบวกกับ A2 ต่อจากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ลบออกด้วยค่า D5 การเป็นเช่นนี้ เป็นหลักการทางคณิตศาสตร์ที่ให้ตัวดำเนินการคูณและหารดำเนินการก่อนตัวดำเนินการบวกและลบ ดังนั้นการกำหนดสูตรจึงต้องมีความชัดเจน การใส่เครื่องหมายวงเล็บจะป้องกันความสับสน ดังนั้น =A2+B3*C4-D5 สามารถเขียนใหม่ได้เป็น =A2+(B3*C4)-D5 ซึ่งจะทำให้ชัดเจนมากขึ้น
ค่าต่างๆ ที่อยู่ในเซลของตารางทำงานนั้นสามารถกำหนดชนิดของข้อมูลได้เช่นตัวอักษร จำนวนเต็ม จำนวนจริง วันเดือนปี เวลา เปอร์เซ็นต์ และอัตราค่าเงินของประเทศต่างๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ตารางทำงานช่วยคำนวณรายการต่างๆ เช่น คำนวณภาษี รายรับรายจ่าย และประเมินผลการเรียนการสอนของนักเรียน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น