รูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่าย |
1. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบบัส (Bus Topology) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายใน เครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิลของแต่ละเครื่อง
ข้อดี
- ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย
- ประหยัดค่าใช้จ่าย
- เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดเสียจะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบ
ข้อเสีย
- การตรวจสอบจุดที่มีปัญหากระทำได้ค่อนข้างยาก
- การส่งข้อมูลจะชนกัน ถ้าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์มีจำนวนมากเกินไป
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบบัส |
ข้อดี
- ใช้สายเคเบิลน้อย
- ไม่มีการชนกันของข้อมูล
ข้อเสีย
- การส่งข้อมูลภายในข่ายงานชนิดนี้ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน |
3. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star Topology) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในข่ายงานคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุดศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (Hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
ข้อดี
- การเพิ่มจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในโครงสร้างนี้ทำได้ง่าย
ข้อเสีย
- ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิลค่อนข้างสูง
- การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบจะหยุดทำงาน เมื่อฮับไม่ทำงาน
|
4.แบบผสมผสาน (Hybrid) เชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงานด้วยกัน คือ จะมีเครือ ข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยหลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกันมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่าย เล็ก-ใหญ่หลากหลาย แบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัดหรืออาจจะอยู่คน ละประเทศก็เป็นได้
ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
- สามารถขยายระบบได้ง่าย
- เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเนตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น